"อนาคอนดา" หุ่นยนต์งูยักษ์ดับเพลิง
มูลนิธิเพื่อการวิจัยอุตสาหกรรมและวิทยาศาสร์ ประเทศนอร์เวย์ (ซินเทฟ) ต้องใช้เวลา 3 ปีกว่าจะปลุกปล้ำ "ต้นแบบนวัตกรรมหุ่นยนต์ดับเพลิง" รุ่นใหม่ในภาพนี้ขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง
คณะผู้พัฒนาตั้งชื่อให้มันว่า งูยักษ์ "อนาคอนดา"
อาเซ แดร็กแลนด์ จากซินเทฟ อธิบายระบบการทำงานของงูยักษ์หุ่นยนต์อนาคอนดา ว่า ประกอบด้วยข้อต่อไฮโดรลิกมอเตอร์ 20 ชุด ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน มีความยาวประมาณ 3 เมตร หนัก 70 กิโลกรัม
ภายในข้อต่อแตะชิ้นมี "วาล์ว" ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของท่อจ่ายน้ำที่อยู่ด้านใน
ที่ส่วนหัวของหุ่นยนต์ ติดตั้งกล้องวิดีโอเอาไว้ เพื่อถ่ายทอดสัญญาณภาพไปให้ผู้ควบคุมคอยบังคับทิศทางการเคลื่อนไหว
แรงขับที่ทำให้อนาคอนดา เคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็คือแรงดันของน้ำ ราว 100 บาร์ ที่จ่ายออกมาจาก "หัวจ่ายน้ำดับเพลิง"
เมื่อผู้ควบคุมกำหนดตำแหย่งการเคลื่อนที่ของมันจากจุด 1 ไปยังจุด 2 เรียบร้อยแล้ว ตัวหุ่นยนต์จะ "เลื้อย" ไปยังเป้าหมายด้วยตัวเอง และยังสามารถดัน ข้าม หรือทำลายสิ่งกีดขวางด้านหน้าได้ด้วย
เมื่อไปถึงเป้าหมาย ผู้ควบคุมก็จะสั่งยกหัวหุ่นยนต์ขึ้นเพื่อฉีดพ่นน้ำออกมาดับเพลิง
อาเซ ระบุว่า ภารกิจของหน่วยดับเพลิงบางครั้งเสี่ยงตายเกินไป ดังนั้นในอนาคตหุ่นยนต์อย่างอนาคอนดาจะเข้ามาทำหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ในจุดที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีความร้อนสูงเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดตึกถล่ม และจุดเกิดเหตุที่แคบเกินกว่าที่คนจะมุดเข้าไปได้
นอกจากนั้น หุ่นอนาคอนดายังเหมาะกับภารกิจสำรวจท่อน้ำมันใต้ทะเลและค้นหาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
ปัจจุบัน คณะผู้พัฒนากำลังเจรจากับบริษัทในสหรัฐอเมริกา เพื่อหาเงินทุนมาผลิตอนาคอนดาในเชิงพานิชย์ต่อไป
0 Comments:
Post a Comment
<< Home