พลังงานทางเลือกใหม่ "ไฟฟ้าพลังคนเดิน"
บริษัทสถาปัตยกรรมในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ "ฟาซิลิตี้ อาร์คิเท็กส์" กำลังทดลองคิดค้นวิธีนำเอา "แรงกด" จากจังหวะการ "ก้าวเดิน" ของผู้ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินในลอนดอน
มาเปลี่ยนเป็น "พลังงานทางเลือก" สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในพื้นที่สถานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟส่องสว่าง
แคลร์ ไพรซ ผู้อำนวยการฟาซิลิตี้ อาร์คิเท็กส์ อธิบายว่า แนวคิดนำเอาแรงกดจากการเดินมาผลิตเป็นไฟฟ้ามีการทดลองพัฒนาอย่างจริงจังโดย "ดาร์ปา" หรือหน่วยงานวิจัยของกองทัพสหรัฐอเมริกา
โดยก่อนหน้านี้ ดาร์ปาได้พัฒนารองเท้าบู้ตทหารที่บริเวณ "ส้นรองเท้า" มีอุปกรณ์ปั่นไฟขนาดจิ๋วติดตั้งเอาไว้ ยามเมื่อเดินกดลงไปอุปกรณ์ตัวนี้ก็จะขยับขึ้นลงเพื่อประจุกระแสไฟฟ้าราว 3-6 วัตต์ออกมาจ่ายให้กับวิทยุสื่อสาร
ล่าสุด ทางบริษัทฟาซิลิตี้ฯ กำลังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งของอังกฤษ เพื่อทดลองนำเอาแนวคิดเดียวกันนี้มาใช้เป็นพลังงานทางเลือก
แต่จะนำเอาชุดอุปกรณ์ปั่นหรือผลิตกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปติดตั้งไว้ใต้พื้นขั้นบันไดของสถานีรถไฟใต้ดิน
ไพรซ กล่าวว่า เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตชุดอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าดังกล่าวอาจเป็นการผสมผสานกันระหว่างระบบ "ไฮโดรลิก" กับ "เพียโซอิเล็กทริก" ซึ่งเทคนิคอย่างหลังนี้ถ้าพูดให้เห็นภาพก็คือสิ่งที่ทำให้ "ปืนจุดเตาแก๊ส" มีประกายไฟฟ้าแลบออกมาเมื่อเรากดปุ่มที่ด้ามจับนั่นเอง
ดังนั้นเมื่อมีการนำชุดอุปกรณ์ตัวนี้ไปฝังไว้ใต้ขั้นบันได พอมีคนเดินขึ้นลงบันได (ซึ่งต้องออกแรงกดมากกว่าการเดินทางราบ) วัสดุเพียโซอิเล็กทริกที่อยู่ข้างใต้ก็จะถูกกดให้ปลดปล่อยไฟฟ้าออกมาเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อนำจ่ายให้ไฟส่องสว่าง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ
จากการคำนวณเบื้องต้น การเดินขึ้นลงบันไดของคน 1 คนจะช่วยผลิตไฟฟ้า 6-8 วัตต์
สถานีรถไฟฟ้าในลอนดอนและแห่งมีคนใช้บริการวันละหลายหมื่น จึงถือว่าระบบๆ นี้เป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่น่าศึกษาอย่างจริงจังต่อไป
และในอนาคตอาจประยุกต์นำระบบๆ นี้ไปปั่นผลิตไฟฟ้าหล่อเลี้ยงภายในอาคารสำนักงาน 3
0 Comments:
Post a Comment
<< Home