"เบียร์จีเอ็มโอ" อนาคตของเบียร์??
คอเบียร์คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ธัญพืชที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตเบียร์มีหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าวมอลต์ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์
จากนั้นใส่ "ฮอปส์" เข้าไปเพื่อเพิ่มความขมกับรักษาคุณภาพของเบียร์ พร้อมกับใส่ "ยีสต์" เข้าไปเพื่อทำให้เกิดกระบวนการหมัก
"ข้าวโพด" ก็เป็นธัญพืชอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ทำเบียร์ได้และเนื่องจากข้าวโพดเป็น "พืชตัดต่อพันธุกรรม" (พืชจีเอ็มโอ) ที่ปลูกกันมากอันดับต้นๆ ของโลก
"เคนธ์ เพอร์สัน" เจ้าของธุรกิจผลิตเบียร์ท้องถิ่นในประเทศ "สวีเดน" จึงตัดสินใจวัดดวงนำเอา "ข้าวโพดจีเอ็มโอ" มาผลิตเป็น "เบียร์จีเอ็มโอ"...
เบียร์ของคุณเคนธ์ ใช้ชื่อยี่ห้อเหมือนเจ้าของ "เคนธ์เบียร์" ดูจากขวด เนื้อเบียร์ ฟองเบียร์ ไม่มีอะไรแตกต่างจากเบียร์ตามท้องตลาด นักข่าว "ซีเอ็นเอ็น" ที่อาสาพาผู้ชมไปชิมเบียร์เคนธ์ด้วยตัวเองรายงานว่า รสชาตินุ่มเหมือนเบียร์ทั่วไปจริงๆ
เคนธ์บอกว่า ตามธรรมชาตินั้นไร่ข้าวโพดต้องพ่นยาฆ่าแมลงศัตรูพืชจำนวนมาก เพื่อป้องกันทั้งหนอนและเชื้อรา แต่ข้าวโพดจีเอ็มโอได้รับการตัดต่อพันธุกรรมของสารต่อต้านศัตรูพืชเข้าไปในตัวมันเองอยู่แล้วทำให้ไม่ต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลงจำนวนมากในการดูแลไร่ข้าวโพด ถ้าดูเบียร์ในขวดจะไม่พบความผิดปกติ แต่ถ้าไปดูไร่ข้าวโพดของเคนธ์จะพบว่า ข้าวโพดจีเอ็มโอจะมีต้นเตี้ย/เล็กกว่าปกติ
เมื่อเดือนเมษายน ปี 2547 ภายหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) อนุญาตให้วางจำหน่ายอาหารจีเอ็นโอได้ เคนธ์จึงเริ่มปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอจนสามารถนำมาผลิตเบียร์ขายเช่นทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความหวังในการส่งเบียร์จีเอ็มโอไปเจาะตลาดใหญ่ของยุโรปนอกสวีเดนไม่ใช่เรื่องง่าย
อย่างน้อยๆ ทั้งในเยอรมนีกับฝรั่งเศส ก็มีกระแสต่อต้านอาหารจีเอ็มโออย่างรุนแรง เพราะไม่มั่นใจว่าทานหรือดื่มเข้าไปแล้วระยะยาวจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ!?
0 Comments:
Post a Comment
<< Home